วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โครงงานคอมพิวเตอร์ ม.3



                                                      ประวัติส่วนตัว



                     
                                  เด็กหญิง  อรชุดา  ศรีผัด  ม.3/7 เลขที่ 17
                                ที่อยู่: 12/34 ม.10 เอกชัย 14  แขวงบางขุนเทียน
                                          เขตจอมทอง  กทม. 10150
                                วิชาที่ชอบ : คอมเพราะ ไม่มีการบ้าน
                                วิชาที่ไม่ชอบ: คณิต เพราะ ไม่ชอบคิดเลข
                                งานอดิเรก:ฟังเพลง
                                ศึกษาอยู่:โรงเรียนวัดราชโอรส
                                       


                            โครงงานเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

           ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ะบบการทำงานของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือๆ
1.หน่วยประ่มวลผลกลาง (Central Processing Unit = CUP) เปรียบเสมือนสมองของ
คอมพิวเตอร์ เพราะทำหน้าที่คิดคำนวณและประมวลผลชุดคำสั่ง ๆที่เราสั่งเข้าไป
2.หน่วยรับข้อมูลเข้า (INput Unit) เป็นอุปกรณ์ที่รับและส่งข้อมูลเข้าไปในระบบ
คอมพิวเตอร์เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) , และเมาส์ (Mouse) เป็นต้น
3.หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ได้จากการประมวลผล
ต่างๆ โดยอาจจะแสดงออกมา เช่น
- จอภาพ
- เครื่องพิมพ์
แฟกซ์
IDevice Icon อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
1.ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นด้านในเพื่อไม่ให้
ชิ้นส่วนที่สำคัญภายในได้รับความเสียหาย ที่ตัวเครื่องจะเห็นแต่ CD-ROM Driver Disk,
ปุ่ม Power ปุ่ม Restart ที่ติดตั้งอยู่ภายนอก
2.จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข ตัวอักษร
ข้อความ ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว มีลักษณะคล้ายจอโทรทัศน์
3.เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บังคับตัวชี้ (Mouse Pointer) บนจอภาพเพื่อเลือก
คำสั่งต่างๆแทนการป้อนคำสั่งทางคีย์บอร์ด ช่วยในการทำงานสะดวกและรวดเร็ว มี
รูปร่างคล้่ายหนูจังเรียนว่า เมาส์
4.แป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เชื่อม
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่
หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่จะ
ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆที่ถูกฉาบด้วย
หมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้าเมื่อถูกกดจนติดก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจรเมื่อผู้ใช้กดแป้น
ใดแป้นหนึ่งข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส
(Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กด เพื่อเปลี่ยนให้เป็นตัวอักษรตัวเลข
หรือสัญลักษณ์ไปแสดงบนจอภาพ
แป้นพิมพ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้าย
แป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีดโดยจะมีปุ่มตัวอักษร สัญลักษณ์ และอักขระต่างๆตาม
มาตรฐานสากลแต่มีแป้นกดที่ทำหน้าที่พิเศษเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีปุ่มต่างๆ ทั้งสิ้น 101
ปุ่มแต่ปัจจุบันอาจเพิ่มปุ่มพิเศษมากขึ้นอีกเพื่อสนับสนุนการใช้งานกับโปรแกรมที่

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า Computer ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ
เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด


ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและ

เปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้
คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้
ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 4 ประการ คือ
1. ทำงานโดยอัตโนมัติ ถ้าสังเกตการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะพบว่า อุปกรณ์ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ โดยที่คนไม่ได้เข้าไปควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล การคำนวณ หรือการพิมพ์ผลลัพธ์

2. ทำงานได้อเนกประสงค์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อเนกประสงค์ เพราะทำงานได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ เช่น โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมคิดคะแนนสอบของนักเรียน เป็นต้น
3. เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทางด้าน
อิเล็คทรอนิคส์ทั้งสิ้น เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี ดังนั้นจึงทำงานด้วยความเร็วสูงมาก

4. เป็นระบบดิจิตอล คำว่า ดิจิตอล (Digital) มาจากคำว่า Digit หมายถึง ตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ทำงานโดยใช้ระบบตัวเลข ข้อมูลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เมื่อส่งเข้าเครื่องรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้ว
จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลขหมด



การทำงานของคอมพิวเตอร์ 
เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ
1. รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ส่วนข้อมูล อาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

2. การประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ
เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น

3. แสดงผลลัพธ์ คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้

            ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง 
 อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่ 

    - คีย์บอร์ด (keyboard)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


    - เมาส์ (mouse)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


    - สแกนเนอร์ (scanner)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


    - อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


    - ไมโครโฟน(microphone)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


    - กล้องเว็บแคม (webcam)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

    อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
    ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
    หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้

    - แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เครื่องพิมพ์ (Printer)


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เครื่องวาด (Plotter)



    - แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
จอภาพ (monitor)


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)

4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
    หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร


    - หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
RAM


    - หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
                                                       
                                                          ลิงค์บล็อคห้อง
                                     http://m307.blogspot.com/